ผลิตภัณฑ์หลังคาและฝาถัง (SMART ROOF) 

 

ผลิตภัณฑ์หลังคาและฝาถัง (Smart Roof) ของทางสมาร์ท แทงค์ มีการออกแบบโครงสร้าง และเลือกใช้วัสดุแต่ละประเภทให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งานการกักเก็บ ซึ่งแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ 

1. หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Aluminium Trought Deck Roof)


หลังคารูปแบบนี้ถูกออกแบบให้เป็นโครงสร้างหลังคาที่เหมาะต่อการใช้งานกับการกักเก็บที่สิ่งของที่สามารถระบายอากาศ หรือสามารถถ่ายเทอากาศได้แผ่นหลังคาที่มีความแข็งแรง สามารถรองรับการวางอุปกรณ์เสริมได้ เช่น ช่องระบายอากาศ เป็นต้น ซึ่งแผ่นหลังคาชนิดนี้ทำจากอลูมิเนียม มีลักษณะเรียบ ส่วนโครงหลังคาเป็นวัสดุเหล็กชุบกัลวาไนซ์ หรือเหล็กเคลือบอิพ็อกซี แต่ความพิเศษของหลังคาชนิดนี้คือ "ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางของถังต่ำกว่า 22 เมตร ถังจะไม่ต้องใช้เสาค้ำ ใช้เพียงแค่คานรองรับน้ำหนักเท่านั้น" แต่ถ้าถังมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่านั้น จะต้องใช้เสาค้ำเพื่อความปลอดภัย และความแข็งแรง โดยเสาที่เรานำมาเป็นโครงสร้างของหลังเพื่อรองรับน้ำหนักส่วนวัสดุที่ใช้ต้องทนทานต่อการกัดกร่อน สามารถเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นได้ วัตถุประสงค์หลักของการออกแบบหลังคาประเภทนี้ คือการแก้ปัญหาการหักของเสาเวลาที่หลังคาแอ่น ลดการกัดกร่อนในถังเก็บน้ำเสีย

 

2. หลังคาชนิดระบบโครงหลังคาแบบยึดแน่นประเภทเทเปอร์บีมและ เอ็กซ์เทอนอลบีม (Tapered Beam and External Beam Roof) ชนิดโครงสร้างไร้เสา (Columnless Structure)

 


หลังคาชนิดระบบโครงหลังคาแบบยึดแน่นประเภทเทเปอร์บีมและ เอ็กซ์เทอนอลบีม เป็นหลังคาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับของเหลวที่หลากหลายประเภท เก็บได้ตั้งแต่การเก็บน้ำดื่ม ไปจนถึงการกักเก็บก๊าซชีวภาพ (BIOGAS)

 

ในฐานะผู้นำตลาดด้านเทคโนโลยีการหลอมเหล็กละลายด้วยผงแก้ว หลังคาประเภทนี้มีการนำแผ่นเหล็กที่หลอมละลายด้วยผงแก้ว (Glass-Fused-to-Steel) มาประกอบกับโครงสร้างเป็นหลังคาที่สามารถทำให้ถัง ๆ นั้น กลายเป็นระบบปิดได้อย่างสมบูรณ์แบบ ป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกจากระบบและป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าระบบด้วย เรื่องของความทนทานที่ทนต่อการกัดกร่อนได้สูง ทำให้ตัวถังนั้นสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมปกติและไปจนถึงสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ หรือหากต้องการแผ่นหลังคาเป็นสแตนเลสก็สามารถทำได้เช่นกันแต่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และการใช้งานนั้น ๆ และนอกจากนั้นนั้นยังหลังคาประเภทนี้สามารถรับแรงดันได้ดีและติดตั้งอุปกรณ์เสริมอื่นเพิ่มเติมบนหลังคาได้ดีอีกด้วย

3. หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof) ชนิดโครงสร้างไร้เสา (Columnless Structure)


หลังคารูปแบบนี้เป็นนวัตกรรมการออกแบบโครงสร้างโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์เชื่อมต่อให้สามารถคลุมถังได้หลายขนาด โดยนวัตกรรมรูปแบบโครงสร้างนี้ทำให้วิธีการจัดการการกักเก็บของ Permastore  ได้ถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์แบบ

 

ด้วยน้ำหนักที่เบาของโครงสร้างรูปแบบนี้ ทำให้มีข้อได้เปรียบในด้านของราคาต้นทุนที่ทำให้การนำหลังคามาใช้กับถังเดิมหรือการติดตั้งถังใหม่ที่มีราคาประหยัด คุ้มทุนที่สุด

 

โครงสร้างของหลังคาโครงถักสามมิติมีการเชื่อมข้อต่อ มุมต่อมุมได้อย่างชาญฉลาด ด้วยรูปทรงเรขาคณิตที่นำมาใช้ทำให้แรงสามารถถ่ายไปยังมุมต่อมุม และทำให้ไม่จำเป็นต้องมีเสาเพื่อยึดหลังคา นอกจากนั้นยังทำให้การขึ้นรูปหลังคามีความรวดเร็วและได้ประสิทธิภาพซึ่งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในเรื่องของสถานที่การติดตั้ง หรือสภาพอากาศที่ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่มีประสิทธิภาพเท่ากัน 

 

ในด้านความสามารถของการป้องกัน คือ กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จะถูกกักเก็บไว้ภายในถังและสารที่กักเก็บไว้ในถังจะถูกปกป้องด้วยหลังคานี้อย่างมีประสิทธิภาพ และในด้านความทนทานที่มีมากพอทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดูแลรักษาให้น้อยลงด้วย

4. ผ้าใบกักเก็บแก๊สชั้นเดียวและผ้าใบกักเก็บแก๊สสองชั้น (Single / Double Membrane Dome Roof)


ผ้าใบกักเก็บแก๊สชั้นเดียวและผ้าใบกักก็บแก๊สสองชั้นเป็นที่ยอมรับในระบบการย่อยน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้แตกต่างกันไป ตามลักษณะการกักเก็บ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

 

ผ้าใบกักเก็บแก๊สชั้นเดียว เป็นผ้าใบสามารถกักเก็บกลิ่นได้อย่างดี ประยุกต์กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างจำกัดเพราะมีการใช้เสากลางเพื่อทำให้ผ้าใบอยู่ทรง และไม่เกิดแอ่งน้ำบนผ้าใบที่จะเป็นสาเหตุให้ผ้าใบฉีกขาด 

 

ผ้าใบกักเก็บแก๊สสองชั้น เป็นผ้าใบที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ประหยัดต้นทุนในการทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน และการผลิตก๊าซชีวภาพ (BIOGAS) โดยจะแบ่งหน้าที่การทำงานเป็น 2 ส่วน คือ ผ้าใบชั้นนอก จะทำหน้าที่คอยปกป้องผ้าใบชั้นในที่จะยุบ-พองอยู่เสมอ เนื่องจากการเกิด-การใช้แก๊สชีวภาพ โดยผ้าใบชั้นนอกจะต้องพองตัวอยู่เสมอด้วยการเป่าอากาศเข้าไป และยังทนสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดีอีกด้วย ส่วนที่สองคือผ้าใบชั้นในจะทำหน้าที่กักเก็บแก๊สชีวภาพ (BIOGAS) เพื่อที่จะนำไปใช้ต่อเป็นพลังงานทดแทนได้อีกมากมาย