ระบบหลังคาแบบโครงถักสามมิติ (GEODESIC DOME ROOF SYSTEM)

 

 

ระบบหลังคาโครงถักสามมิติ หรือ Geodesic Dome Roof คือหลังคาที่นำเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ออกแบบเป็นโครงสร้างโดยใช้เป็นรูปทรงของสามเหลี่ยมด้านเท่ามาเชื่อมต่อกันให้เป็นรูปทรงกลม โครงสร้างมีน้ำหนักเบา แต่สามารถรับน้ำหนักได้มาก พอเชื่อมต่อโครงสร้างเสร็จจึงสามารถวางแผ่นวัสดุที่ต้องการ ประกอบกันกับโครงสร้างให้เป็นหลังคา 


โครงสร้างแบบหลังคาโครงถักสามมิติ ทำให้ทำหลังคาสามารถอยู่ทรงได้ด้วยตัวเอง (Self-Support Roof) โดยไม่ใช้ต้องใช้เสาในการทำให้หลังคาอยู่ทรง ใช้เพียงแค่โครงสร้างรองรับการถ่ายแรงที่ส่งไปยังแต่ละมุมของโครงสามเหลี่ยมที่ต่อกันอย่างทั่วถึง ทำให้ทนต่อแรงลม และแรงสั่นได้ดี 

 

 

การนำเอาโครงสร้างแบบ Geodesic Dome มาประยุกต์ในการทำหลังคาคลุมอาคารสถานที่ต่าง ๆ นั้นเกิดจากแนวคิดของ Buckminster Fuller เมื่อประมาณปี 1947 ที่ออกแบบหลังคาลักษณะนี้มาเพื่อต้องการเร่งฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 Fuller นั้นออกแบบหลังคาโดยใช้หลักการของ Geodesic Dome สามารถขึ้นโครงสร้างได้รวดเร็วขึ้น เพราะน้ำหนักเบา ขึ้นรูปง่าย และใช้คนน้อย

 

นอกจากนั้นการทำโครงสร้างแบบนี้ทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ในการใช้งานของอาคารที่มีขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี การออกแบบครั้งนั้นเกิดผลตอบรับที่ดีจนทำให้เกิดการแพร่หลายของการสร้างหลังคา Geodesic Dome ที่ประยุกต์เข้ากันกับหลากหลายสถานเช่น สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์จัดนิทรรศการ เป็นต้น 

Permastore ได้นำแนวคิด และการออกแบบ Geodesic Dome มาประยุกต์ใช้กับการทำเป็นหลังคาของถังกักเก็บ ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ Geodesic Dome Roof ที่นำมาเป็นหลังคาแบบยึดอยู่กับที่ (Fix Roof) เหมาะกับถังที่ต้องการทำเป็นระบบปิด โครงสร้างหลังคาที่เป็นรูปทรงของ Geodesic Dome สามารถใช้ได้ดีกับถังหลายขนาด วัสดุที่ใช้เป็นอะลูมิเนียมทั้งตัวโครงและแผ่นหลังคา ทำให้ทนทานต่อการกัดกร่อน และเนื่องจากเป็นหลังคาที่ไม่ใช้เสากลางในการติดตั้งทำให้พื้นที่ภายในถังเพิ่มขึ้น ทำให้กักเก็บของเหลวภายในถังได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หมดปัญหาเรื่องการกัดกร่อนของเสา ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาไปด้วย